แบบบ้านสองชั้น โถงสูง
แบบบ้านสองชั้น โถงสูง ไม่กี่วันก่อนฉันมีโอกาสได้พูดคุยกับเพื่อนคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ แม้เพื่อนคนนี้จะบอกว่าตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้เปลี่ยนไปอยู่ในสถานที่ใหม่ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนคุ้นเคย สถานที่ที่นึกและโหยหาที่สุดก็หนีไม่พ้นบ้านเกิดเมืองนอนคำพูดนั้นเองทำให้ฉันนึกถึงเจ้าของบ้านหลังนี้ที่แม้จะอยู่ต่างบ้านต่างเมืองมานานหลายปี แต่สุดท้ายก็เลือกกลับมา สร้างครอบครัวบนแผ่นดินแม่ บ้านสไตล์โมเดิร์น แบบบ้านโมเดิร์นฟรี
บ้านสวยสองชั้นสไตล์โมเดิร์น ในจังหวัดชลบุรีหลังนี้มองจากด้านนอกจะแบ่งเป็น 3 ส่วน โดยเว้นช่องว่างเล็กๆ ระหว่างบ้าน พร้อมรูปแบบของหลังคาที่ดูโดดเด่นแปลกตาเหมือนลายเส้นที่ต่อเนื่องกันจากจั่วตรงกลาง ซึ่งส่วนที่เว้นช่องว่างเอาไว้นี้ออกแบบเป็นบ่อน้ำเพื่อช่วยระบายน้ำฝน ซึ่งจะค่อยๆ ไหลผ่านสายโซ่ที่ต่อจากรางน้ำฝนมากักเก็บในบ่อ เจ้าของบ้านคือ คุณฟิลลิฟ และ คุณอุ้ม – อัญชลี วอคเกอร์ สองสามี-ภรรยาที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศ ด้วยหน้าที่การงานทำให้ต้องเดินทางและเปลี่ยนที่อยู่บ่อยครั้ง กระทั่งตัดสินใจย้ายกลับมาอยู่ที่จังหวัดชลบุรีแบบถาวรโดยสร้างบ้านอยู่ในบริเวณเดียวกับบ้านคุณแม่ที่คุณอุ้มเติบโตขึ้นมาและมีความผูกพัน
บ้านหลังนี้สร้างบนพื้นที่ 3 ไร่ โดยจัดวางตัวบ้านให้อยู่ส่วนกลางของที่ดิน เว้นบริเวณด้านหน้าและหลังบ้านเป็นสนามหญ้ากว้างและสวนสไตล์ทรอปิคัลที่สร้างบรรยากาศสดชื่นและเป็นแบ็กกราวนด์ให้บ้านได้อย่างดี โจทยแรกที่เจ้าของบ้านตั้งไว้ก็คือ โปร่ง เพดานสูง มีสวนสีเขียว เนื่องจากคุณพ่อของคุณฟิลลิฟทำงานเกี่ยวกับการก่อสร้างที่อังกฤษ คุณฟิลลิฟเลยรับหน้าที่ดูแลตอนวางแปลนบ้าน ทิศทางของบ้านนี้จึงมีความพิเศษ เป็นการมองจากด้านในออกไปสู่นอกบ้าน ชั้นล่างมองเห็นสวน ชั้นบนเห็นภูเขาที่อยู่ไกลๆ บ้านชั้นเดียวมินิมอล
“จริงๆ แล้วอุ้มอยู่บ้านแม่มาก็นาน แต่ไม่รู้เลยว่าจากบ้านเราจะมองเห็นภูเขาได้ พอมาสร้างบ้านหลังนี้แล้วมองจากชั้นสองก็จะเห็นเขาเขียวได้ชัดเจน โชคดีที่บ้านข้างๆ ยังปลูกมะม่วง จึงมีพื้นที่สีเขียวอยู่รอบบ้าน”
การจัดพื้นที่ใช้งานในบ้านเป็นไปตามกิจกรรมที่เจ้าของบ้านชื่นชอบ เช่น คุณอุ้มชอบทำอาหาร จึงออกแบบให้มีครัวขนาดใหญ่สำหรับเก็บอุปกรณ์ต่างๆได้ครบครัน หรือพื้นที่กึ่งเอ๊าต์ดอร์ที่ใช้เป็นส่วนนั่งเล่นหรือรับประทานอาหารเล็กๆเลือกใช้วัสดุธรรมชาติและโทนสีนิวทรัล เช่น ไม้สักสีธรรมชาติ โคมไฟหวายหรือไม้อารมณ์สแกนดิเนเวีย เสริมด้วยเฟอร์นิเจอร์สีละมุนตาอย่างสีเทา ตัดกับหมอนอิงสีม่วงที่สร้างความรู้สึกหรูหราและเป็นสีที่คุณอุ้มชอบ นอกจากนี้ยังเลือกคู่สีเขียวมาตัดกัน ทำให้บ้านดูสดชื่นยิ่งขึ้น
ความพอดีของแต่ละบ้านย่อมแตกต่างกันไป บ้านนี้พอดีที่ความสบาย ใช้ทุกพื้นที่อย่างคุ้มค่าและตอบโจทย์ความตั้งใจซึ่งวางไว้ตั้งแต่แรก ทั้งหมดนี้คงเป็นคำตอบของคำว่าความสุขและความสบายได้อย่างดี แบบบ้านโมเดิร์นฟรี
- บ้านชั้นครึ่งแนวโมเดิร์น
- พื้นที่ใช้สอย 72 ตร.ม.
- ขนาด 1 ห้องนอน, 1 ห้องน้ำ, 1 ห้องโถง, 1 ห้องครัว, พร้อมระเบียงพักผ่อน
- งบประมาณก่อสร้าง 900,000 บาท
สวัสดีค่ะ คุณผู้อ่าน วันนี้มีรีวิวบ้านสวย ๆ มาฝากกันอีกเช่นเคย สำหรับบ้านหลังนี้เป็นผลงานการออกแบบและก่อสร้างจากเพจสร้างบ้านน็อคดาวน์ทั่วไทย ปลูกสร้างเป็นบ้านพักอาศัยชั้นครึ่ง ยกพื้นสูงจากที่ดินเล็กน้อย ออกแบบบ้านสไตล์โมเดิร์น ภายนอกใช้โทนสีเทาเข้ม เทาอ่อน แต่งไม้เทียมสีน้ำตาลเข้ม
บ้านหลังนี้ลูกค้าต้องการทำเป็นแบบชั้นครึ่ง คือชั้นล่างใข้เป็นห้องโถงอเนกประสงค์ ส่วนชั้นบนทำเป็นห้องนอน จุดเด่นของบ้านชั้นครึ่งคือ ในบริเวณห้องโถงชั้นล่างจะรู้มีความโล่ง โปร่ง และกว้างมากกว่าปกติจากฝ้าเพดานที่สูงจากพื้นหลายเมตร
โดยชั้นบนและชั้นล่างเชื่อมกันโดยบันไดภายในบ้านที่ออกแบบด้วยวัสดุที่แข็งแรงระดับพรีเมี่ยม แบ่งโซนห้องครัว ห้องน้ำ พร้อมในตัว หลังนี้ใช้งบจบใน 9 แสนเท่านั้น บวกอีกนิดสำหรับพื้นที่ต่างจังหวัดค่ะ
- – บ้านน็อคดาวน์ Size 6.0 x 8.0 m.
- – ห้องนอน Size 3.0 x 8.0 m.
- – ห้องน้ำ Size 1.5 x 2.0 m.
- – ห้องนั่งเล่น Size 4.0 x 8.0 m.
- – เทอร์เรสด้านหน้า Size 2.0 x 8.0 m.
- – โครงสร้างแหล็กกล่องมาตรฐาน
- – ผนังภายใน วัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ พร้อมทาสี TOA
- – ผนังภายนอก วัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ พร้อมทาสี TOA
- – ฝ้าแผ่นเรียบ เจาะไฟดาวน์ไลท์
- – หลังคาเมทัลชีทพร้อมฉนวนกันความร้อน
- – กรอบอลูมิเนียม พร้อมกระจกใสเขียว
- – สุขภัณฑ์ห้องน้ำ American Standard
- – ถังบำบัด 600 ลิตร
- – พื้นและผนังห้องน้ำปูกระเบื้องเซรามิก
- – กระเบื้องพื้นยางไวนิลกันรอยนำเข้า
- – เดินระบบไฟฟ้า และแผงควบคุมวงจร ภายในบ้านน็อคดาวน์
- – เดินระบบน้ำประปา และระบบน้ำเสีย ภายในบ้านน็อคดาวน์
- – หลอดไฟส่องสว่าง พร้อมเต้าเสียบ อุปกรณ์, สวิตซ์, ปลั้ก, เกรดมาตรฐาน
- – ออกแบบ 3D พร้อม Interior ภายใน
ท่ามกลางกระแสความนิยมของการก่อสร้างคอนโดมิเนียมและห้องชุดในตึกสูงที่มีพุ่งสูงมากมายหลายพันแห่งในระยะเวลาไม่กี่ปีของประเทศไทย ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยเหตุผลและปัจจัยหลายๆด้านที่ขีดกรอบจำกัดการใช้ชีวิตของผู้คนนี้เอง ทำให้มีหลายบ้านหลายครอบครัวมีโอกาสที่จะมีบ้านหลังใหม่เป็นของตัวเอง ตัวเลือกแรกๆที่เจ้าบ้านจะตัดสินใจมองหาเป็นไอเดียหรือรูปแบบที่อยู่ใหม่คือแบบบ้านเดี่ยวสองชั้น ซึ่งอาจมีให้เลือกสรรได้ทั้งจากโครงการบ้านที่มีการก่อสร้างและการดำเนินการภายในที่เป็นสัดส่วนเบ็ดเสร็จ หรือแบบบ้านที่มีการออกแบบก่อสร้างโดยเฉพาะจากสถาปนิกตามความต้องการของเจ้าบ้าน เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ชี้วัดให้เห็นว่าบ้านสองชั้นนั้นถือเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยที่ยังเป็นที่นิยมของทุกครอบครัวอยู่เสมอ
เกร็ดข้อมูลต่างๆที่ Homify ลิสต์มาให้คุณผู้อ่านในวันนี้จึงเป็นเรื่องเกรี่ยวกับบ้านสองชั้นล้วนๆ โดยจะเป็นการอธิบายถึงข้อดีข้อเสีย รูปแบบการดีไซน์บ้านสองชั้นที่เหมาะสมกับบริบทของที่ตั้งและนักออกแบบชาวไทย รวมถึงทริคเล็กๆน้อยๆที่จะทำให้บ้านสองชั้นของคุณนั้นน่าอยู่ยิ่งขึ้น เราลองไปดูกันว่าบ้านสองชั้นนั้นน่าสนใจยังไง
บ้านสองชั้นมีดีอย่างไร?
รูปลักษณ์อาคารที่เป็นที่คุ้นเคย
ในปัจจุบันถึงแม้รูปแบบของอาคารบ้านและที่อยู่อาศัยจะมีอยู่หลากหลายลักษณะให้เลือกสรรและก่อสร้าง แต่ลักษณะของอาคารบ้านสูงสองชั้นก็ยังคงเป็นตัวเลือกแบบต้นๆของเจ้าบ้านและครอบครัวในการก่อสร้างบ้านหลังแรกของตน เนื่องด้วยลักษณะของตัวอาคารที่มีขนาดความสูงซึ่งเป็นที่คุ้นเคยเราๆท่านๆ ทั้งจากแบบบ้านสมัยดั้งเดิมของไทยที่เป็นบ้านยกพื้นสูง หรือแบบบ้านโมเดิร์นสมัยใหม่ที่สร้างด้วยคอนกรีต ก็มักปรากฏในรูปแบบของอาคารสูงสองชั้นทั้งสิ้น
ความโอ่อ่าของตัวบ้านที่ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและเป็นที่พึ่งพิงทางกายและใจของคนในครอบครัว
และจากลักษณะภายนอกของสถาปัตยกรรมที่มีความสูงสองชั้นนี้ ยังส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกของผู้พบเห็นยามได้มอง เนื่องด้วยความสูงสองชั้นของบ้าน (6 เมตรเป็นต้นไป) ทำให้สัมผัสการรับรู้รู้สึกได้ถึงความปลอดภัยและเป็นพื้นที่สำหรับพักพิง ทั้งยังแลดูมีความมั่นคงแข็งแรงและอาจหมายรวมถึงการบ่งบอกของลักษณะคุณภาพชีวิตของครอบครัวนั้นๆได้อีกด้วย
การจัดสรรพื้นที่ที่แบ่งสัดส่วนได้ดีกว่าแบบบ้านชั้นเดียว
แน่นอนว่าพอพื้นที่บ้านถูกเพิ่มส่วนการใช้สอยให้มีระดับที่สูงขึ้นไปอีกหนึ่งชั้น พื้นที่ใช้สอยจึงสามารถทำการแบ่งสัดส่วนได้ทั้งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและบรรยากาศของพื้นที่ใช้สอย ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนรวมของครอบครัวหรือเป็นส่วนที่คนนอกสามารถเข้าถึงได้ก็จะถูกจัดไว้ที่ชั้นล่าง ส่วนพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนตัวจะมีการถูกจัดสรรไว้อย่างมิดชิดที่ชั้นบน โดยมีโถงบันไดเป็นส่วนเชื่อมต่อของพื้นที่ทั้งสองระดับชั้น หรืออีกกรณีหนึ่งคือพื้นที่ที่อาจมีการใช้งานที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนอื่นๆเช่นห้องครัวและซักล้างที่อาจมีกลิ่น ควันและความชื้น หากมีการแยกส่วนให้อยู่ที่ชั้นล่างก็จะสะดวกต่อการดูแลรักษาความสะอาด หรือพื้นที่ห้องทำงานซึ่งต้องการบรรยากาศที่เงียบสงบก็ควรถูกจัดอยู่บนพื้นที่ชั้นสองเพื่อความเป็นส่วนตัวนั่นเอง
ราคาค่าก่อสร้างที่อาจสูงและบานปลาย
แน่นอนว่าบ้านสองชั้นเองถึงแม้จะแลดูโอ่อ่าและมั่นคงเหมาะสมกับการเป็นที่พักพิงของเรามากเท่าไร ก็ยังมีข้อด้อยที่อาจไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของครอบครัวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณค่าก่อสร้างที่มากกว่าการก่อสร้างบ้านชั้นเดียวค่อนข้างมาก โดยทั่วไปแล้วบ้านสองชั้นจะมีราคาค่าก่อสร้างอยู่ที่ 2-5 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคากลางขั้นต่ำที่ประเมินเบื้องต้นโดยสถาปนิกหรือผู้รับเหมาก่อสร้าง ทั้งนี้ราคาค่าก่อสร้างยังขึ้นกับสเปคของวัสดุและที่ดินนั้นๆด้วย
หากคุณเป็นกังวลเรื่องของงบประมาณราคาค่าบ้าน เรามีไอเดียบุคที่จะช่วยไกด์คุณให้เลือกแบบบ้านสองชั้นราคาประหยัดได้ อยากรู้ก็คลิกตามลิงก์ด้านล่างนี้เลย
– รวม 4 แบบบ้านสองชั้นราคาเป็นมิตร
ความไม่สะดวกในการใช้งานของคนต่างวัยในครอบครัว
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เจ้าบ้านควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยที่ดีนั้นต้องคำนึงถึงการใช้งานและการอยู่อาศัยของสมาชิกทุกช่วงวัยภายในครอบครัว โดยเฉพาะกับเด็กและผู้สูงอายุซึ่งอาจมีความลำบากในการเดินขึ้นลงบันไดหรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นแล้ว ทางที่ดีในการออกแบบพื้นที่เชื่อมต่อของชั้นหนึ่งและชั้นสองอย่างโถงบันไดควรออกแบบให้ปลอดภัยทั้งระยะความกว้าง ราวกันตก ชานพัก หรือในบางบ้านอาจต้องมีการเผื่อพื้นที่สำหรับการติดตั้งลิฟท์รถเข็นสำหรับผู้สูงวัยด้วย
แบบบ้านสองชั้นที่สวยน่าสนใจ น่าเป็นแบบอย่างไอเดีย
บ้านสองชั้นหน้าแคบตกแต่งสไตล์ผสมผสาน
บ้านสองชั้นหลังแรกนี้เราขอเริ่มจากบ้านสองชั้นรูปทรงตึกแถวหน้าแคบแต่ลึก ซึ่งมีการออกแบบตัวบ้านด้วยรูปทรงเหลี่ยมและใช้หลังคาจั่วตามแนวยาวของตัวบ้าน ตัวบ้านภายนอกมีการลดทอรายละเอียดของรูปทรงให้เหลือเพียงรูปทรงเหลี่ยม มีการออกแบบระเบียงแบบลึกเข้าไปด้านใน และใช้วัสดุที่ผสมผสานกันระหว่างไม้และเหล็กมาประกอบเป็นวัสดุผนัง แลดูให้ความทันสมัยและความพื้นถิ่นในตัว เหมาะสำหรับการนำไปปรับใช้กับที่ดินที่มีขนาดความกว้างไม่มากนัก