3 ขั้นตอนขอมิเตอร์ไฟฟ้า รวมถึงการย้ายเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และมิเตอร์ไฟฟ้า

ขั้นตอนขอมิเตอร์ไฟฟ้า เมื่อบ้านสร้างแล้วเสร็จก็ได้เวลาของการเข้าไปอยู่อาศัยในบ้านหลังใหม่สักที แต่จะอยู่ได้อย่างไรถ้ายังไม่ติดตั้งไฟฟ้า ลองมาดูว่าขั้นตอนและวิธีการขอมิเตอร์ไฟฟ้า มีขั้นตอนอะไรบ้าง รวมถึงการขอย้ายเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และมิเตอร์ไฟฟ้า พร้อมมาตรการคืนเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าต้องทำอย่างไร หาคำตอบทั้งหมดได้ที่นี่

ขั้นตอนขอมิเตอร์ไฟฟ้า

Contents

ขั้นตอนขอมิเตอร์ไฟฟ้า คุณสมบัติของผู้ที่จะขอมิเตอร์ไฟฟ้า

ผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้ามีดังนี้

1. เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า

2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใช้ไฟฟ้า

3. ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อสถานที่ใช้ไฟฟ้า

4. ผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า

เอกสารที่ผู้ขอมิเตอร์ไฟฟ้าต้องนำมาแสดง

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเตรียมเอกสารดังนี้ เพื่อใช้ยื่นประกอบคำร้องขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า

หลักฐานการขอมิเตอร์ไฟฟ้า

1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า และสำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบัน

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. สัญญาซื้อขาย (กรณีซื้อขายบ้าน), สัญญาเช่า (กรณีเช่าบ้าน)

4. หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีเจ้าของบ้านไม่มาดำเนินการ)

5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

6. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ให้เช่า

7. ใบยินยอมผ่านที่หรือใบยินยอมในกรณีต่างๆ (กรณีผ่านที่ดินผู้อื่น), สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านขอผู้ยินยอม

8. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าข้างเคียงของเสาที่จะติดตั้งมิเตอร์ (ถ้ามี)

หลักฐานการขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว (สำหรับใช้ในการก่อสร้าง)

1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งการใช้ไฟฟ้า

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง (ถ้ายังไม่ได้ให้ถ่ายใบคำขอมาแทน)

4. โฉนดที่ดินสถานที่ขอใช้ไฟฟ้า

5. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

หมายเหตุ การขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราวต้องเตรียมสายไฟฟ้าและคัทเอ้าท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงินด้วย

ขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้า

1. หลังจากได้รับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า พร้อมเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะเข้าไปตรวจสอบการเดินสายไฟในอาคาร หากยังไม่เดินสายไฟฟ้าให้เดินสายให้เรียบร้อยแล้วแจ้งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบ

2. เมื่อตรวจสอบการเดินสายไฟฟ้าแล้วพบว่ามีการเดินสายไฟที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แต่ถ้าการเดินสายไฟไม่ถูกต้อง ไม่ปลอดภัยก็จะแจ้งให้ดำเนินการแก้ไข และตรวจสอบอีกครั้ง โดยค่าธรรมเนียมนั้นการไฟฟ้าจะกำหนดไว้ตามประเภทและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้ง

3. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานก็เรียบร้อยแล้ว

การขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า

การขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า จากข้อมูลการไฟฟ้านครหลวง มีหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ในการยื่นคำขอ และในการพิจารณาอนุญาต ดังนี้

1. ปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยการใช้ไฟฟ้าและบริการ พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2553 และข้อบังคับการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยอัตราค่าบริการการใช้ไฟฟ้า พ.ศ. 2536

2. ไม่มีปัญหาแนวเขตทางและการทำงาน รื้อถอนหรือปักเสาพาดสาย

3. ไม่เป็นการย้ายสายใต้ดิน

4. เสา สาย และอุปกรณ์ ที่ย้ายมีระยะรวมกันต้องไม่เกิน 25 ต้น

5. ไม่มีอุปสรรคจากสาธารณูปโภคอื่นที่ติดตั้งหรือพาดบนเสาไฟฟ้า

6. ถ้าเป็นการย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ไฟฟ้าของระบบสายส่ง ต้องไม่เกิน 2 ต้น

7. ผู้ขอย้ายชำระค่าใช้จ่ายครบถ้วนถูกต้อง

8. การปักเสาและ/หรือพาดสายไฟฟ้าและ/หรือย้ายเสาสายไฟฟ้าในที่ดินของผู้ยื่นคำขอ บุคคลอื่นหรือในที่ดินสาธารณะ หรือมีการพาดสายไฟฟ้าภายในของผู้ยื่นคำขอในที่ดินของบุคคลอื่น

ผู้ยื่นคำขอจะต้องนำเอกสารที่เกี่ยวกับการปักเสาพาดสายไฟฟ้ามาให้ก่อนการดำเนินการ ตามแบบฟอร์มที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด เช่น หนังสือรับรองการย้ายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า สัญญาอนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า หนังสือรับรองการปักเสาพาดสายไฟฟ้าในที่ดินสาธารณะ หนังสือยินยอมให้สายไฟฟ้าภายในผ่านที่

9. การไฟฟ้านครหลวงจะดำเนินการย้ายเสา สายไฟฟ้า ได้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด เมื่อได้รับเอกสารครบถ้วนถูกต้อง และไม่นับระยะเวลาระหว่างการรอดำเนินการของผู้ขอใช้ไฟฟ้า

ระยะเวลาในการดำเนินการขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า

ระยะเวลาในการดำเนินการขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า ระยะเวลาในการดำเนินการรวม 57 วันทำการ แบ่งเป็น

1. การตรวจสอบเอกสาร รับเรื่องขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า พร้อมรายละเอียดตรวจสอบเอกสาร ระยะเวลา 1 วันทำการ

2. การพิจารณา สำรวจสถานที่ ทำผัง ออกแบบ และประมาณราคา ระยะเวลา 18 วันทำการ

3. การพิจารณา รวบรวมค่าใช้จ่าย ออกหนังสือแจ้ง ระยะเวลา 5 วันทำการ

4. การพิจารณา รับชำระค่าใช้จ่าย ออกคำสั่งงาน ระยะเวลา 9 วันทำการ

5. ดำเนินการสายนอก ระยะเวลาทำการ 24 วันทำการ

เอกสาร และหลักฐานประกอบในการขอย้ายเสา สาย อุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ฉบับ

2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล 1 ฉบับ

3. สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ (กรณีคนต่างด้าว)

4. สำเนาทะเบียนบ้านาที่มีชื่อผู้ขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า 1 ฉบับ

5. สำเนาโฉนดที่ดินบริเวณที่ขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า 1 ฉบับ

6. แผนผังสถานที่ที่ขอย้ายเสา สาย โดยสังเขป ฉบับจริง 1 ฉบับ

7. หนังสือรับรองการย้ายและติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า ฉบับจริง 2 ฉบับ (ตามแบบฟอร์มของการไฟฟ้านครหลวง)

8. หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ต้องมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ ฉบับจริง 1 ฉบับ

9. สัญญาอนุญาตให้ติดตั้งอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า (กรณีปักเสาพาดสายในที่ดินเอกชน) ฉบับจริง 2 ฉบับ (ตามแบบฟอร์มของการไฟฟ้านครหลวง)

10. หนังสือรับรองการปักเสาพาดสายไฟฟ้าในที่ดินสาธารณะ (กรณีปักเสาพาดสายในที่ดินสาธารณะ) ฉบับจริง 2 ฉบับ (ตามแบบฟอร์มของการไฟฟ้านครหลวง)

ทำเรื่องโอนมิเตอร์ไฟฟ้าได้ที่การไฟฟ้านครหลวง

สถานที่ติดต่อเพื่อขอมิเตอร์ไฟฟ้า หรือขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า

ผู้ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าทุกแห่ง ขั้นตอนขอมิเตอร์ไฟฟ้า

– การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง

– การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129 หรือติดต่อสอบถามได้จากเว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

มาตรการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า

มาถึงขั้นตอนของการขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ซึ่งมาจากมาตรการพิเศษของรัฐที่ต้องการช่วยเหลือประชาชน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็นบ้านพักอาศัย และกิจการขนาดเล็ก ลองมาทำความเข้าใจรายละเอียดของมาตรการนี้กันก่อนว่า เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร และใครจะเป็นผู้ได้เงิน

เงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืออะไร

เงินประกันการใช้ไฟฟ้า หรือที่เรียกติดปากว่า เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า คือค่าธรรมเนียมในการขอใช้ไฟฟ้า โดยเงินก้อนนี้จะเสียครั้งแรกเมื่อยื่นขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งการไฟฟ้าจะเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้า และจะคืนให้เมื่อมีการยกเลิกการใช้ไฟฟ้า

ทำไมต้องเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้า

เหตุผลที่ต้องมีการเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้า เนื่องจากเป็นค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า เพื่อเป็นเงินประกันการใช้ไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น หากบ้านของเราไม่ยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ทางการไฟฟ้าจะยึดเงินประกันการใช้ไฟฟ้านั้นแทน (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย จะได้รับดอกเบี้ยออมทรัพย์ทุก 5 ปี โดยคิดในอัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย)

เงินประกันการใช้ไฟฟ้าต้องเสียเท่าไหร่

ขนาดมิเตอร์ (แอมป์)เงินประกันที่ได้คืน
5(15)300 บาท
15(45)2,000 บาท
30(100)4,000 บาท
15(45) เฟส 36,000 บาท

อัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจะเสียตามขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มิเตอร์ขนาด 5(15) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 300 บาท (บ้านพักขนาดเล็ก ที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่มาก)

2. มิเตอร์ขนาด 15(45) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 2,000 บาท (เป็นขนาดมิเตอร์ที่ครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้กัน)

3. มิเตอร์ขนาด 30(100) เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 4,000 บาท (บ้านพักขนาดใหญ่ มีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด)

4. มิเตอร์ขนาด 15(45) เฟส 3 เงินประกันการใช้ไฟฟ้า 6,000 บาท (บ้านพักส่วนใหญ่ไม่ค่อยใช้)

ขั้นตอนการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า

หลักการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าคือ จะคืนเงินหลักประกันเต็มจำนวน พร้อมดอกผล (หรือไม่รับคืนก็ได้ ก็ยังคงได้ดอกผลต่อไป) โดยต่อไปจะไม่มีการเรียกเก็บหลักประกันกับผู้ใช้รายใหม่ (เฉพาะประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก)

การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง

สำหรับการคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง เจ้าของหลักประกันการใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย และประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก สามารถขอรับเงินคืนประกันการใช้ไฟฟ้าที่วางไว้ตามขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าหรือตามจำนวนเงินที่วางไว้กับการไฟฟ้านครหลวง

ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้า สามารถลงทะเบียนขอคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีปิดการลงทะเบียน ได้ที่ รวมถึงสามารถตรวจสอบสถานะการขอคืนเงินได้ในฟังก์ชันตรวจสอบเรื่อง โดยกรอกรหัสประจำตัวประชาชน หรือรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี พร้อมกับหมายเลขรับเรื่อง 10 หลัก

โดยสามารถเลือกช่องทางการคืนเงินได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

1. คืนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ (Prompt Pay) เฉพาะที่ผูกกับหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลักเท่านั้น

2. คืนเงินเข้าบัญชีธนาคารพาณิชย์ที่เข้าร่วมโครงการเบื้องต้นมี 3 ธนาคาร ได้แก่ กรุงไทย ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย ทั้งนี้ ต้องเป็นบัญชีของเจ้าของหลักประกันเท่านั้น ไม่สามารถใช้บัญชีเงินฝากของผู้อื่นได้

3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส รับเงินสดผ่านร้าน 7-Eleven โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (เงินประกันการใช้ไฟฟ้าต้องไม่เกิน 50,000 บาท) โดยใช้บัตรประชาชนยืนยัน

การคืนเงินประกันการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถตรวจสอบสิทธิเพื่อขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าได้ที่ โดยต้องกรอกรายละเอียดหมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า (CA) และรหัสเครื่องวัด (PEA NO.) ซึ่งผู้ที่เข้าลงทะเบียนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รับเงินคืนผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้

1. คืนเงินผ่านพร้อมเพย์ ต้องเป็นบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับหมายเลขบัตรประชาชนของผู้วางหลักประกันเท่านั้น

2. คืนเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

3. คืนเงินผ่านบัญชีธนาคาร

4. รับเงินสดที่สำนักงานการไฟฟ้า

ชื่อไม่ตรงกันทำอย่างไร

หากชื่อผู้วางเงินประกันการใช้ไฟฟ้า กับผู้ขอรับเงินคืนไม่ตรงกันต้องทำอย่างไร

1. กรณีขายบ้านไปแล้ว หากผู้ที่วางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าขายบ้านหลังนั้นไปแล้ว ยังถือว่าเป็นเจ้าของสิทธิ์ที่จะได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้า (ยกเว้นบางกรณีที่มีการโอนมิเตอร์ไฟฟ้าแล้ว-อาจต้องดูเป็นรายกรณี)

2. กรณีเสียชีวิต หากผู้วางเงินประกันการใช้ไฟฟ้าเสียชีวิต แบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

– มีการตั้งผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกจะเป็นผู้ได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไป โดยต้องนำคำสั่งศาลมายืนยัน

– ไม่มีการตั้งผู้จัดการมรดก ให้ทายาทมารับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าแทนได้ ทั้งนี้ หากมีทายาทหลายคน ต้องนำหลักฐานทั้ง 5 คนมาแสดง พร้อมระบุว่าใครจะเป็นผู้ได้รับเงินประกันการใช้ไฟฟ้าไป

ไขข้อข้องใจมิเตอร์เสียต้องจ่ายเองไหม

หากขอคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า ประกันมิเตอร์จะถูกยกเลิกหรือไม่ ข้อเท็จจริง คือ

1. เงินที่ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้ามาลงทะเบียนขอรับเงินคืนนั้นเป็นเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าไม่เกี่ยวกับมิเตอร์

2. จากเดิม ประชาชน มาขอใช้ไฟฟ้า จะมีค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ ค่าติดตั้งมิเตอร์ และค่าประกันการใช้ไฟฟ้าล่วงหน้าที่จะเรียกเก็บตามขนาดของมิเตอร์ เช่น มิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ประเภทบ้านอยู่อาศัย จะมีการจ่ายค่าประกันการใช้ไฟฟ้าล่วงหน้า 300 บาท เพราะการที่จะเรียกเก็บเงินผู้ใช้ไฟฟ้าได้ต้องใช้ไฟให้ครบเดือนก่อน และเมื่อถึงกําหนดผู้ใช้ไฟฟ้าไม่จ่ายเงินค่าใช้ไฟฟ้าประจําเดือนก็จะหักเงินส่วนนี้ไป

3. กรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าค้างชำระ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมีกระบวนการและขั้นตอนการแจ้งเตือนเป็นระยะเวลา 28 วันเช่นเดิม หากไม่มีการชําระค่าใช้ไฟฟ้าประจําเดือนจึงจะเข้าสู่กระบวนการของการไฟฟ้า

4. แม้ว่าภายหลังที่คืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าไปแล้วก็ตาม หากพบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้านั้น ๆ มีปัญหา จากการใช้งานตามปกติ การไฟฟ้าฯ จะต้องไปดําเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนให้ใหม่เพราะมิเตอร์ไฟฟ้าเป็นทรัพย์สินของการไฟฟ้าฯ